EXTREMESOCCER89

ประวัติสนาม สแตมฟอร์ด บริดจ์

ประวัติสนาม สแตมฟอร์ด บริดจ์

ประวัติสนาม หากพูดถึงชื่อสนาม สแตมฟอร์ด บริดจ์ คงไม่มีแฟนบอลคนไหนที่จะไม่รู้จัก เพราะสนามแห่งนี้ถือเป็นหนึ่งในสนามฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศอังกฤษ และถูกใช้เป็นรังเหย้าของสโมสรฟุตบอล เชลซี ตั้งแต่ปี 1905 วันนี้เราจะทุกท่านไปรู้จักประวัติสนาม สแตมฟอร์ด บริดจ์ แบบทุกซอกทุกมุมกัน

ประวัติสนาม สแตมฟอร์ด บริดจ์

สแตมฟอร์ด บริดจ์ เปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 เมษายน 1877 ช่วง 27 ปีแรกสนามแห่งนี้ถูกใช้สำหรับการแข่งขันกีฬาดั้งเดิมในสมัยวิคตอเรียโดยเฉพาะ

ในปี 1904 สิทธิการครอบครองของสนามเปลี่ยนมือเมื่อ มิสเตอร์ เฮนรี่ ออสกัสตัน เมียร์ และ มิสเตอร์ เจที เมียร์ น้องชายของเขา ได้เข้าซื้อโดยก่อนหน้านี้พวกเขากว้านซื้อที่ดินเพิ่มเติม โดยเป้าหมายที่จะใช้จัดการแข่งขันกีฬายุคใหม่ที่พวกเขาตกหลุมรัก นั่นก็คือฟุตบอล ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมจากภาคเหนือของอังกฤษสู่ย่านมิดแลนด์ และเติบโตอย่างรวดเร็วในเมืองหลวงของประเทศ

ประวัติสนาม สแตมฟอร์ด บริดจ์

สนามแห่งใหม่มีเนื้อที่ 12.5 เอเคอร์ ถูกออกแบบโดย อาร์ชิบาลด์ ลีตช์ นักออกแบบสนามฟุตบอลชื่อดังชาวสก๊อตแลนด์ โดยมีสัญลักษณ์โดดเด่นจากงานของเขาอยู่ในอัฒจันทร์ความยาว 120 หลาทางฝั่งตะวันออกซึ่งจุแฟนบอลได้ 5,000 คน แรกเริ่มความจุถูกวางแผนไว้ใช้รอบรับแฟนบอล 100,000 คน และเคยเป็นสนามที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอันดับ ที่ 2 ต่อมาจากสนามของคริสตัล พาเลซ ซึ่ง ณเวลานั้นถูกใช้เป็นสังเวียนแข่งขันฟุตบอล เอฟเอ คัพ รอบชิงชนะเลิศ

สโมสร ฟูแล่ม เคยถูกเสนอให้ใช้สนามนี้เป็นรังเหย้าแต่พวกเขาเลือกที่จะปฎิเสธโอกาสดังกล่าว นั่นจึงทำให้สโมสรใหม่ที่มีชื่อว่า เชลซี ฟุตบอล คลับ ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 1905 ได้ย้ายมาอยู่ในสนาม สแตมฟอร์ด บริดจ์ สำหรับช่วงเริ่มต้นฤดูกาลไม่กี่เดือนต่อมา

และความสำเร็จก็ตามมาอย่างรวดเร็ว โดยสนามได้รองรับแฟนบอลได้ถึง 60,000 คนในปีแรก และได้เลื่อนชั้นจากลีกวัน นอกจากนี้ยังถูกใช้จัดการแข่งขันเอฟเอ คัพ รอบชิงชนะเลิศ 3 ครั้ง ระหว่างปี 1920 จนถึง 1922

ที่มาของชื่อ สแตมฟอร์ด บริดจ์ (Stamford Bridge)

การใช้ชื่อสนามของสโมสรฟุตบอลเชลซีถือเป็นเรื่องเกี่ยวกับสถานที่สำคัญจากท้องถิ่น ไม่ใช่การรุกรานของชาวต่างชาติแต่อย่างใด

ในยุคศตวรรษที่ 18 แผนที่ของพื้นที่ถนนฟูแล่ม และถนนคิงส์ มีลำธารที่ชื่อว่า ‘สแตนฟอร์ด ครีก’ ซึ่งมีความยาวเลียบไปกับทางรถไฟสายปัจจุบันด้านหลังอัฒจันทร์ฝั่งตะวันออก ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำเธมส์

จุดลำธารตัดผ่านกับถนนฟูแล่ม ถูกเรียกว่า ‘ลิตเติล เชลซี บริดจ์’ ซึ่งเดิมทีถูกเรียกว่าแซนฟอร์ด บริดจ์ ขณะที่สะพานข้ามลำธารถนนคิงส์ถูกเรียกว่า สแตนบริดจ์ สะพานสองชื่อนี้และลำธาร ถูกนำมารวมกันกลายเป็นชื่อว่า สแตนฟอร์ด บริดจ์ และหลังจากนั้นจึงถูกเปลี่ยนอีกครั้งเป็น สแตมฟอร์ด บริดจ์ จนถูกนำมาใช้เป็นชื่อของสนามฟุตบอลในบริเวณใกล้เคียง

สแตมฟอร์ด บริดจ์

ในช่วงเวลาประมาณหนึ่งศตวรรษซึ่งเกิดขึ้นในยุคสมัยที่เชลซีประสบความสำเร็จมากที่สุด สนาม สแตมฟอร์ด บริดจ์ มีฮัฒจันทร์ใหม่ใช้งานทั้งสองส่วนในสนาม

จนกระทั่งในปี 1965 ข้อตกลงในการวางแผนและการสร้างอัฒจันทร์ฝั่งตะวันตกได้เริ่มต้นขึ้นจนสุดท้ายได้มาเป็นอัฒจันทร์ซึ่งมีที่นั่งรองรับแฟนบอลประมาณ 6,000 คนแทนระเบียงยืนแบบเก่าที่ถูกใช้งานมาก่อนหน้านี้ ในบริเวณด่างหลังของอัฒจันทร์ประกอบไปด้วยห้องรับรอง 6 ห้อง ทำให้ เดอะ บริดจ์ กลายเป็นสนามแห่งที่สองของประเทศต่อจาก โอลด์ แทรฟฟอร์ด ของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกดังกล่าว จากนนั้นได้มีการติดตั้งไฟส่องสว่างในปี 1957

จากความสำเร็จของอัฒจันทร์ฝั่งตะวันตก ผู้บริหารของสโมสรเชลซีความใฝ่ฝันที่จะพัฒนาสนาม สแตมฟอร์ด บริดจ์ ขึ้นมาใหม่โดยแผนการคือขยายความจุเป็น 60,000 ที่นั่ง พร้อมหลังคาครอบคลุมทั้งหมด แต่ไอเดียทั้งหมดก็มาไกลได้เพียงเท่านี้

เนื่องจาก การตัดสินใจที่ยย่ำแย่ รวมถึงการแต่งตั้งสถาปนิกที่ไม่มีประสบการณ์ด้านการออกแบบสนามฟุตบอล ผลกระทบทำให้แฟนบอลลดลงและสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยในปี 1970 ทำให้เกิดการประท้วงหยุดงานหลายครั้งจนทำให้สนามเสร็จไม่ทันกำหนด เมื่อบวกกับผลงานที่ต่ำลงไป สิ่งดังกล่าวทำให้สโมสรแทบจะล้มทั้งยืน นำไปสู่การขายนักเตะชื่อดัง,การตกชั้นและการต้องเผชิญหน้ากับภาวะล้มละลายอย่างฉิวเฉียด

เรื่องกีฬาที่น่าสนใจ

การสร้างสนาม สแตมฟอร์ด บริดจ์ ขึ้นมาใหม่จนกลายเป็นสังเวียนแบบในปัจจุบันรุดหน้าไปกับการพลิกโฉมพื้นที่อัฒจันทร์ทางทิศเหนือ สนามซึ่งมีเก้าอี้ทุกที่นั่งกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการแข่งขันในดิวิชั่นระดับบนของฟุตบอลอังกฤษ ส่วนระเบียงยืนดูสำหรับแฟนบอลทีมเยือนได้ถูกทำลายทิ้ง

อัฒจันทร์สองขั้นสำหรับรองรับแฟนบอลเจ้าถิ่นเปิดใช้งานในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ปี 1994 โดยสองปีถัดมาได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น แม็ทธิว ฮารดิ้ง สแตนด์ เพื่อรำลึกถึงรองประธานสโมสรเชลซีที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทาง เฮลิคอปเตอร์

แผนการพลิกโฉมสนามลำดับถัดมาคืออัฒจันทร์ฝั่ง เชด เอนด์ ระเบียงเก่าถูกใช้งานครั้งสุดท้ายในวันสุดท้ายของการแข่งขันฟุตบอลลีก ฤดูกาล 1993/94 จากนั้นที่นั่งชั่วคราวถูกนำมาติดตั้งทดแทนอยู่ประมาณ 2 ปี ก่อนการติดตั้งอัฒจันทร์เชด เอนด์จะเกิดขึ้น ในเวลาเดียวกันนี้ โรงแรมสี่ดาว, แฟลตที่อยู่อาศัย และอาคารจอดรถชั้นใต้ดินกำลังถูกก่อสร้างขึ้น งานชิ้นสุดท้ายสำหรับเรื่องราวของสนาม สแตมฟอร์ด บริดจ์ โฉมใหม่กลายเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องการเอาชนะอัฒจันทร์ชั้นล่างของสแตนด์ฝั่งทิศตะวันตกดำเนินไปตามปฎิทินที่กำหนดไว้ แต่จากนั้นปัญหากับสภาเมืองท้องถิ่นเรื่องแผนการขออนุญาตทำให้เกิดความล่าช้า 2 ปีก่อนการก่อสร้างจะเริ่มต้นขึ้น

ท้ายที่สุดสงครามดั่งกล่าวได้จบลง และการก่อสร้างในบริเวณพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดของสนามก็ได้เริ่มต้นขึ้นอัฒจันทร์ 13,500 ที่นั่งพร้อมห้องรองรับมากมาย และห้องสวีตสำหรับการใช้งานตลอดทั้งปี การก่อสร้างแล้วเสร็จในช่วงเริ่มต้นฤดูกาล 2001/02 ทำให้สนาม สแตมฟอร์ด บริดจ์ ที่ปรับโฉมมาตั้งแต่ปี 1973 จากอัฒจันทร์ฝั่งตะวันออกเสร็จสมบูรณ์ในที่สุด

สแตมฟอร์ด บริดจ์

ปัจจุบันสนาม สแตมฟอร์ด บริดจ์ รองรับแฟนบอลได้ประมาณ 41,000 คน โดยรูปทรงเปลี่ยนจากรูปไข่ขนาดใหญ่กลายเป็นสี่ด้านที่ใกล้ชิดกับผืนหญ้า นอกจากปรับปรุงตัวสนามแข่งขัน พื้นที่ขนาด 12.5 เอเคอร์ในบริเวณนี้ยังเป็นการทำงานเกี่ยวกับตัวอาคาร ประกอบด้วย 4 ดาว 2 แห่ง , ภัตตาคาร , สิ่งอำนวยความสะดวกและพื้นที่รองรับการจัดงาน , ลานจอดรถชั้นใต้ดิน , คลับสุขภาพ และศูนย์ธุกิจถูกเสริมเข้าไปทั้งหมด

ต้องยอมรับว่าปัจจุบันสนาม สแตมฟอร์ด บริดจ์ ถือเป็นหนึ่งในสนามที่ดีที่สุดในเกาะอังกฤษ ด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เราต้องมาดูกันว่าในอนาคต สนามแห่งนี้ จะขึ้นมาเป็นสนามอันดับหนึ่งของอังกฤษได้หรือไม่ แต่ไม่ว่ายังไงก็ตามความฝันของแฟนบอล สิงห์บลู และบอลทั่วโลกคงอยากจะไปเหยียบที่นั่น ซักครั้งในชีวิตเช่นเดียวกันกับผม

ติดตามข่าวกีฬา :: เรื่องฟุตบอลน่าสนใจ

Facebook Fanpage ::  extremesoccer89

error: Content is protected !!